ในปัจจุบันเนื่องจากมีวิทยาการทางการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้า ทาให้ประชากรทั่วโลกมีอัตราของผู้สูงอายุมากขึ้นรวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งเมื่อมีผู้สูงอายุมีมากขึ้น ก็มักจะพบปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับด้านสมองเสื่อมและความจาที่ลดลง เราทราบกันดีว่ามีสมุนไพรที่นิยมนามารับประทานเพื่อบารุงสมองนั้นก็คือแปะก๊วย แต่นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าสารสกัดจากใบหอมแขกมีฤทธิ์ช่วยต้านความจาที่ลดลงอันเกิดเนื่องมาจากความชรา
หอมแขก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Murraya koenigii (L.) Spreng. อยู่วงศ์ Rutaceae เป็นไม้พุ่ม ตามลาต้นไม่มีหนาม เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นฉุนจัด ดอกออกเป็นช่อตามยอดและซอกใบ ดอกเล็ก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวเขียว ผลกลมสีดาพบตามป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะชายทะเล สรรพคุณ ใบ ใช้สาหรับแก้ปวดท้อง เป็นยาบารุง แก้ปวดฟัน และพบว่าใบและผลมีฤทธิ์ฝาดสมาน แก้บิดแก้ไข้ นอกจากนี้ยังมีรายงานการวิจัยพบว่าสาร alkaloid ที่พบในใบหอมแขก สามารถช่วยต้านความจาที่ลดลงเนื่องมาจากความชราได้อีกด้วย
โดยเป็นการศึกษาผลของสาร alkaloid ที่สกัดจากใบหอมแขก (MKA) ต่อการจาของหนูเม้าส์ โดยทดลองในหนูเม้าส์ 2 กลุ่ม คือหนูกลุ่มอายุน้อย 3-4 เดือนและหนูกลุ่มอายุมาก 12-15 เดือน ในหนูกลุ่มอายุน้อยถูกทาให้ประสิทธิภาพของการเรียนรู้และการจดจาลดลง โดยการฉีด scopolamine ขนาด 0.4 มก./กก. หรือ diazepam ขนาด 1 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนู หลังจากนั้นหนูเม้าส์ทุกกลุ่มจะได้รับการป้อนสาร MKA ขนาด 10, 20 และ 30 มก./กก. แล้วทดสอบประสิทธิภาพในการเรียนรู้และจดจา ดังนี้ ทดสอบความจาระยะสั้นจากการสารวจช่องกล และทดสอบความจาระยะยาวจากการหลบเลี่ยงอันตราย พบว่าหนูกลุ่มอายุมาก และหนูกลุ่มอายุน้อยที่ได้รับสาร scopolamine หรือ diazepam มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้และความจาลดลงกว่าหนูกลุ่มอายุน้อยที่ไม่ได้รับสารใดๆ
สาร MKA ขนาด 20 และ 30 มก./กก. เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และการจดจาทั้งความจาระยะสั้น และความจาระยะยาวทั้งในหนูกลุ่มอายุน้อยและหนูกลุ่มอายุมาก โดยสาร alkaloid จากใบหอมแขกออกฤทธิ์ยับยั้งการทางานของเอนไซม์ cholinesterase และการศึกษาในหลอดทดลองยังพบว่า MKA ยับยั้งการทางานของ beta-secretase 1 (BACE1) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทาให้เกิดการสะสมของ amyloid beta โดยมีความเข้มข้นที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการทางานของเอนไซม์ BAEC1 ได้ 50% (IC50) เท่ากับ 1.7 มคก./มล. สรุปได้ว่า สาร alkaloid จากใบหอมแขกมีฤทธิ์เพิ่มประสิทธิภาพในการจดจาของหนูเม้าส์ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นยาเพื่อรักษาอาการหลงลืมเนื่องมาจากความชราและโรคอัลไซเมอร์ได้
ในอนาคตเมื่อจานวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น เราอาจจะต้องหันมาใช้สมุนไพร เช่นสารสกัดจากหอมแขกเพื่อช่วยบารุงสมองและช่วยแก้ปัญหาด้านความจาเสื่อมของผู้สูงอายุ พร้อมกันนั้นการหันมาใช้สมุนไพรที่มากขึ้นก็เป็นการช่วยลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาได้ และยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายอีกด้วย