วิธีรับประทาน และ คำแนะนำ ให้หายไว
ยากษัยเส้นหมออรรถวุฒิ
- รับประทาน ครั้งละ 2 แคปซูล ก่อนอาหารประมาณ ครึ่ง-1 ชม. เข้า เที่ยง เย็น และ ก่อนนอน อีกครั้งได้จะเห็นผลดีขึ้น (สัปดาห์แรก ทาน 3 เวลา ไปก่อนก็ได้)
- (น้ำหนัก น้อยกว่า 55 กก. ทานแค่ 3 เวลา ได้เลย)
- หากลืมทานก่อนอาหาร สามารถ ทานหลังอาหาร 1 ชม. ได้เลย
- สมุนไพรออกฤทธิ์ดีตอนท้องว่าง ไม่ได้ทานข้าวก็ทานยาไปได้เลย
- หากไม่มีเวลา สามารถทาน ครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง ได้
ตรีโลกก็ทานเช่นเดียวกัน ทานพร้อมกัน อย่างละ 2 แคปซูล
- เหล้า เบียร์ ทานร่วมกับยาได้ แต่ควรทานนิดหน่อยเพราะ จะทำให้โรคกำเริบ แต่ถ้าจำเป็นก็ ทานได้อยู่บ้าง
- ของหมักดอง ขนมจีน ปราร้า หน่อไม้ ของรสจัด เค็มจัด ผงชูรส มีส่วนทำให้โรคกำเริบ กระตุ้นการบวม อักเสบ
** หมายหตุ : ช่วงแรกอาจมีอาการปวดตึงเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งเป็นการไล่เส้น ฟื้นฟูเส้นเอ็น จากภายใน จากที่ชาจะเริ่มหายชา เลยจะเริ่มรู้สึก ไห้ทานยาต่อไปเลย ไม่ได้หายปวดเร็ว เพราะ เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ไม่มีส่วนผสมของเคมีใดๆ เป็นการฟื้นฟูให้ดีจากข้างในระยะยาว
หายเร็ว หายช้า แล้วแต่ประวัติเดิมว่ารักษาผิดๆ มานานแค่ไหน
คำแนะนำ และวิธีรักษากระดูกเอวเคลื่อนทับเส้นประสาท และ หมอนรองกระดูกเสื่อมทับเส้นประสาท โดยการทำกายภาพบำบัดด้วยตนเอง ดังนี้
1. ทาน้ำมันเหลือง หรือยาหม่องเสลดพังพอนหมออรรถวุฒิ หรือ ไมรอทนาโน ที่สองข้างกระดูกเอว กันกบ และรอบสะดือ
2. หลังจากทายาแล้ว ให้จับบาร์เดี่ยวทั้งสองมือเสร็จแล้วปล่อยห้อยโหน ในท่ายืดเอวโดยไม่ ต้องออกแรง (ดังภาพ) เพียงจับให้แน่นแล้วปล่อยให้น้ำหนักถ่วง เท้าลอยจากพื้น ครั้งละ ประมาณ 3-5 นาที ทุกวันจนกว่าจะหาย ห้ามเหยียบ ห้ามบิด ห้ามนวด ควรทำในขณะท้องว่าง
ต่อเนื่องทุกวัน วันละ อย่างน้อย 20 ครั้ง ต่อเนื่อง อย่างน้อย 1 เดือนขึ้นไป ร่วมกับการทานยาสมุนไพรตำรับกษัยเส้น หมออรรถวุฒิ/ตรีโลก วิธีนี่คือ วิธีที่ปลอดภัย หายดีที่สุด และ ประหยัดคำใช้จ่ายที่สุด สามารถหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด เชื่อมั่นในผลการรักษาจากประสบการณ์กว่า 30 ปี
3. สำหรับผู้ที่ปวดบ่า ไหล่ คอ แขน สบัก ให้นวดยาหม่องเสลดพังพอนหรือน้ำมันสมุนไพรหมออรรถวุฒิ หรือ ไมรอทนาโน ตามบริเวณบ่า ไหล่ โค้งคอ และ บริเวณที่เป็น แล้วทำกายภาพบำบัด
ชะลอข้อเข่าเสื่อมด้วยตนเองอย่างปลอดภัย
- หลีกเลี่ยงการนั่งงอข้อเข่ามาก ๆ (นั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ และนั่งคุกเข่า)
- หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดหลาย ๆ ชั้น อย่างบ่อย ๆ
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้ดี ไม่ให้อ้วน
- ขยันบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอยู่เสมอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นขา
- ในรายที่ข้อโก่งผิดรูป และหรือมีการแกว่งของข้อได้มากกว่าปกติ เมื่อต้องเดินทาง ควรสวม ปลอกสวมข้อเข่า ชนิดมีเหล็กสปริงที่ด้านข้างของข้อเข่าทั้งด้านในและด้านนอก
- ในรายที่ปวดเข่าบ่อย หรือเดินทรงตัวไม่ดี ควรใช้ไม้เท้าช่วยเมื่อต้องเดินเป็นระยะ หรือเดินในที่ไม่เรียบ (ควรถือไม้เท้ามือตรงข้ามกับเข่าที่ปวด)